Last updated: 2021-08-25 | 244 จำนวนผู้เข้าชม |
กลับมาพบกันใน Part ที่ 2 นะคะ เมื่อเราลดอาการหอบเหนื่อยได้แล้ว หัวข้อต่อไป คือ
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ
สามารถทำได้ทั้งผู้ป่วย กลุ่มสีเขียว ,เหลือง และแดง หรือ ในบุคคลทั่วไปก็สามารถฝึกไว้ก่อนได้ค่ะ
Diaphragmatic BE (การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม)
ท่าที่เหมาะสม:
ท่านั่ง นั่งเก้าอี้ หรือนั่งบนเตียง (ควรมีหมอนรองใต้เข่า)
ท่านอนหงาย มีหมอนรองใต้เข่าเพื่อหย่อนกล้ามเนื้อกระบังลม
วิธีการ:
หายใจเข้าช้าๆทางจมูกให้ ท้องป่องขึ้น
หายใจออกช้าๆทางปาก(ใช้การห่อปากร่วมด้วย) ท้องแฟบลง
ทำ 5 -10 ครั้ง แล้วพักหายใจปกติ
ทำได้ตามต้องการแต่อย่าทำติดกันเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดเวียนศีรษะได้
Lower costal BE การหายใจที่เน้นทรวงอกส่วนล่าง เนื่องจากมีเนื้อปอดมาก และเป็นส่วนที่พบว่ามีปัญหาบ่อยๆ ในผู้ป่วยโควิด-19
ท่าที่เหมาะสม:
ท่านั่ง นั่งเก้าอี้
ท่านอนตะแคง โดยมีหมอนรองขา (นอนตะแคงสลับซ้าย-ขวา)
วิธีการ:
หายใจเข้าทางจมูก โดยให้ทรวงอกส่วนล่างกาง(ซี่โครงบาน)
หายใจออกทางปาก(ใช้การห่อปากร่วมด้วย) โดยให้ทรวงอกส่วนล่างหุบ(ซี่โครงแฟบ)
ทำ 5 - 10 ครั้ง แล้วหายใจปกติ
ทำใหม่ได้ตามต้องการ ถ้าไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
การฝึกหายใจแบบคงค้าง (SMI)
การฝึกหายใจแบบคงค้างนี้สามารถทำได้ ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการหอบเหนื่อย
ผู้ป่วยโควิด-19 มักจะมีปัญหาถุงลมในปอดบางส่วนถูกทำลาย ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำลง การหายใจแบบคงค้างไว้จะช่วยกระตุ้นให้ถุงลมข้างๆขยายขึ้น ออกซิเจนเข้าไปอยู่ในถุงลมนานขึ้น ทำให้มีเวลาแลกเปลี่ยนก๊าซนานขึ้น
การหายใจก็จะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย
วิธีการ:
หายใจเข้า แล้วค้างไว้นับ 1 ถึง 3 แล้วจึงหายใจออกช้าๆ
สรุป
2021-08-10